industrial design chulalongkorn

department of industrial design chulalongkorn university weblog activities and news. students professors ajarn nisit id chula exhibition awards winning design contests competitions.

Tuesday, August 14, 2007

ID Chula's in KTC มือดี มีคนเห็น Ads Contest


ทีม "บ้านเต้ย" ของ กุล กุลธิดา โรจนวิชญ์, นพ ภาณพ คุณวัฒน์, ไปป์ ณัฏฐ์ชยกร พุฒิเมธปรีดิพ และ บอมบ์ อารยนันท์ มากชู นิสิตชั้นปีที่ 5 ได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดสปอตโทรทัศน์ ระดับมหาวิทยาลัย KTC มือดี มีคนเห็น ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท และเกียรติบัตร จากภาพยนต์โฆษณาเรื่อง "เลข 99" ผลงานโฆษณาชิ้นนี้จะถูกนำออกอากาศเผยแพร่ทางสถานีทีวีทุกช่องตลอดเดือนสิงหาคมนี้

Labels:

นิทรรศการศิลปะ PRANA ปราณ: Art, Light, Space


คิว ฮุย เชียน
เถกิง พัฒโนภาษ
ริชาร์ด สไตรท์แมทเตอร์-ตรัน
นพไชย อังควัฒนะพงษ์
curated โดย ดร. ไบรอัน เคอร์ติน

ณ หอศิลปวิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
16 ส.ค. – 8 ต.ค. 2550
พิธีเปิด วันพฤหัสบดีที่ 16 ส.ค. 2550 เวลา 18.00 น.

PRANA ปราณ: Art, Light, Space เป็นนิทรรศการศิลปะว่า
ด้วยสัมพันธภาพระหว่าง แสง กับ space. ชื่อ ‘ปราณ’ ของ
นิทรรศการนี้ มาจากคำโบราณของพราหมณ์ที่กินความลุ่มลึก
หลากหลายได้ตั้งแต่ ‘ลมหายใจ’ ไปจนถึง ‘พลังแห่งชีวิต’ ซึ่งมี
นัยพินิจทางจิตวิญญาณ ทั้งอาจมีนิรุกติสัมพันธ์กับ pneumatic
ซึ่งเบ่งออกจากคำกรีกโบราณ pneuma อันแปลได้คล้ายกันว่า
อากาศ, วิญญาณ หรือ พลังแห่งชีวิต. นอกจากนี้ ปราณ ยังอาจ
มีนัยเนื่องกับคำอื่นอีก เช่น ethereal ซึ่งหมายถึง เบาบาง จับ
ต้องไม่ได้ หรือ เหนือโลก. PRANA ปราณ: Art, Light, Space
มุ่งสำรวจสภาวะอันไร้วัตถุสภาพ (immaterial); ภาพสะท้อน
ของสภาวะที่อาจรู้สึกได้ แต่ไร้สิ่งใดให้จับต้อง.

ในยุคเรานี้ที่มักโมเมกันว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์, หลายคนก็เหมา
เอาว่า ที่เรารับอิทธิพลและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมข้ามชาติกันจ้า
ละหวั่นนั่นแหละ ที่เป็นบริบทให้เราพินิจศิลปะร่วมสมัยได้ชัดเจน
แจ่มแจ๋ว. ยิ่งโมเมกันอย่างนี้ก็ยิ่งยั่วให้หลายคนวิเคราะห์เจาะลึก
ลงไปว่า “แล้วจุดยืนกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม(ของใคร)จะ
เหลือหรือ?” PRANA ปราณ: Art, Light, Space ทำได้เพียงพยัก
เพยิดว่าแนวคิดที่ต่างสุดโต่ง ยังต้องดำรงร่วมกันอยู่ แต่ไม่ยอม
รับหน้าที่ลดแรงตึงเครียดต่างขั้ว. ศิลปินทั้งสี่ จะเผยให้เราเห็นบริบททางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์อันมีหลาก
มุมหลายมิติ โดยสร้างศิลปะให้เรารู้สึกราวกับว่าแรงโน้มถ่วง
เลือนหายไป, ส่อนัยสู่สภาพไร้ที่สิ้นสุด และ สภาวะจิตอันหยุดนิ่ง
ดิ่งในภวังค์.

นพไชย อังควัฒนะพงษ์ (ไทย) ใช้แสงทดลองสร้างสีสันอันอาจ
รับรู้ได้ด้วยกายสัมผัส. ริชาร์ด สเตรทแมทเทอร์-ตรัน (อเมริกัน-
เวียดนาม) เสนอภาพยนตร์บันทึกแสงนีออนกระพริบ - ภาพดาษ
ดื่นที่ดูคล้ายไร้ความหมาย แต่ตรึงตาตรึงใจ.

เถกิง พัฒโนภาษ (ไทย)
สร้างภาพลวงจากความกลวง, งานใหม่ที่หยั่งรากลงในปฏิมาวิถีของ
เอเชียอาคเนย์โบราณ. และ คิว ฮุย เชียน(สิงคโปร์) สร้าง installation
ที่จะพลิกผันประสบการณ์ให้เรารับรู้ ระหว่าง สิ่งที่ดำรงอยู่ กับ
สิ่งที่เว้นหายไป.

Labels: